กิจกรรมค่ายวิทยาศาสตร์เพื่อพัฒนาทักษะกระบวนการคิดนอกห้องเรียน

การคิดเป็นกระบวนการทำงานของสมอง ที่เป็นไปตามธรรมชาติของมนุษย์ที่เกิดขึ้น อันเป็นผลจากประสบการณ์เดิม สิ่งเร้า และสภาพแวดล้อมที่เข้ามากระทบ ส่งผลให้เกิดความคิดในการที่จะแก้ไข ปรับตัวเพื่อให้สามารถแก้ไขปัญหา หรือปรับตัวให้เข้ากับสถานการณ์ต่าง ๆ ที่เกิดขึ้น รวมทั้งสามารถสร้างสิ่งใหม่ ๆ ให้เกิดขึ้นได้ การคิดเป็นสิ่งที่เป็นนามธรรมเป็นกระบวนการที่มีความต่อเนื่อง และเป็นขั้นตอน การคิดมีหลายลักษณะซึ่งมีจุดมุ่งหมายและกระบวนการในการคิดแตกต่างกันซึ่งคนทุกคนสามารถฝึกฝนเรียนรู้และพัฒนาได้ ดังนั้นมนุษย์สามารถเรียนรู้ในการพัฒนาการคิดได้อย่างหลากหลายรูปแบบ

การจัดค่ายการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ เป็นกิจกรรมเสริมหลักสูตรที่จัดขึ้น เพื่อให้เกิดการเรียนรู้นอกห้องเรียนผ่านกิจกรรมที่หลากหลาย ซึ่งกิจกรรมที่จัดจะเน้นให้ผู้เข้าค่ายได้เผชิญปัญหา ฝึกการแก้ปัญหา ร่วมคิดร่วมทำ โดยใช้ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเป็นสื่อเพื่อสร้างองค์ความรู้และความคิดรวบยอด รวมทั้งให้ความสำคัญอย่างยิ่งต่อทักษะและกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ เช่น กระบวนการสังเกต ทดลอง เก็บรวบรวมข้อมูล วิเคราะห์ข้อมูลและสรุปผลนอกจากนั้น กิจกรรมในค่ายยังเป็นกิจกรรมที่ฝึกการอยู่ร่วมกัน มีการทำงานเป็นทีมเป็นกลุ่ม ช่วยเหลือซึ่งกันและกัน ฝึกความรับผิดชอบต่อตนเองและหมู่คณะ

โครงการค่ายวิทยาศาสตร์เพื่อพัฒนาทักษะกระบวนการคิดทุกรายการอยู่ในระดับมาก โดยความรู้ของคณะครูและวิทยากรมีความเหมาะสมมากที่สุดรองลงมาคือ วัสดุ อุปกรณ์ที่ใช้ในการดำเนินโครงการ จำนวนนักเรียนที่เข้าร่วมโครงการ และงบประมาณที่ใช้ในการดำเนินโครงการ การจัดค่ายวิทยาศาสตร์ เป็นกิจกรรมหนึ่งที่สามารถพัฒนาทักษะด้านต่าง ๆของผู้เรียนได้ เช่น ทักษะกระบวนการคิด ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ ซึ่งควรมีการจัดกิจกรรมที่หลากหลายและต่อเนื่อง จะส่งผลให้ผู้เรียนที่พัฒนาทักษะต่าง ๆได้เป็นอย่างดี รวมทั้งเป็นเครื่องมือในการแสวงหาความรู้ ข้อมูลต่าง ๆได้

กิจกรรมค่ายเด็กและเยาวชนเสริมสร้างภาวะผู้นำ ส่งเสริมให้เยาวชนมีความกล้าคิด

การเข้าค่าย ถือเป็นอีกช่องทางหนึ่งของการเรียนรู้ที่เมื่อมีโอกาส ผู้ใหญ่ควรให้การสนับสนุนส่งเสริม เพื่อเปิดประตูการเรียนรู้บานใหม่ให้กับเด็ก ๆ ของเรา หัวใจของการเรียนรู้ที่สำคัญคือ เด็กต้องได้รับความสนุกสนานเพลิดเพลิน และมีส่วนร่วม มิใช่เน้นแต่เนื้อหา ซึ่งหากเปรียบแล้วคงไม่ต่างกับยาขมหม้อใหญ่ ที่แม้จะรู้ว่ามีคุณประโยชน์ปานใด ก็ยากที่จะทำให้เด็กดื่มรับได้โดยง่าย กับสภาพเหตุการณ์ทางสังคมไทยในปัจจุบัน การหาโอกาสให้เด็ก ๆ ได้เข้าค่ายในเชิงธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม หรือค่ายวัฒนธรรมเป็นสิ่งจำเป็น เพื่อเพิ่มประสบการณ์การรับรู้ และสร้างความเข้าใจตามสภาพความเป็นจริง ซึ่งอาจนำไปสู่การเรียนรู้เพื่อปรับตัว ป้องกันหรือแก้ไขเพื่อให้เกิดสิ่งดี ๆ สิ่งใหม่ขึ้นได้ในสังคมอนาคต

ค่ายเยาวชนเป็นค่ายมุ่งหวังให้เด็กรู้จักการเรียนรู้ด้วยตนเองอย่างมีความสุขและ สนุก เพลิดเพลินจากสถานที่แหล่งการเรียนรู้ต่างๆที่อยู่นอกห้องเรียนดัง นั้นใน ช่วงเวลาปิดเทอมที่มุ่งเน้นการพัฒนา ความคิดจิตใจ อารมณ์ ของเยาวชน โดยเน้นการพัฒนาความคิดที่เป็นระบบ การแสวงหาความรู้ การสร้างสรรค์ และความคิดริเริ่ม การแสดงออก การใช้เหตุและผล การทำงานเป็นทีม และการใช้ชีวิตอยู่ในสังคมอย่างมีความสุขส่ง เสริมการปรับตัว อยู่ร่วมกับผู้อื่นและพัฒนาเยาวชนให้อยู่ร่วมกับผู้อื่น ได้อย่างมีความสุข รู้เท่าทัน ความเปลี่ยนแปลงของโลกการเข้าค่ายเป็น การเรียนรู้รูปแบบหนึ่งเมื่อมีโอกาสผู้ใหญ่ควรให้การสนับสนุนส่งเสริม เพื่อให้เปิดประตู การเรียนรู้บานใหม่ให้กับเด็กๆ หัวใจของการเรียนรู้ที่สำคัญคือเด็ก ต้องได้รับความสนุกสนานเพลิดเพลิน และมีส่วนร่วม มิใช่เน้นแต่เนื้อหา กับสภาพเหตุการณ์ทางสังคมไทย ในปัจจุบัน การหาโอกาสให้เด็กๆ ได้เข้าค่ายเชิงธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม หรือค่ายวัฒนธรรม เป็นสิ่งที่จำเป็นเพื่อเพิ่มประสบการณ์การรับรู้ และสร้างความเข้าใจตามสภาพความเป็นจริงซึ่งอาจจะนำไปสู่การเรียนรู้ เพื่อ ปรับตัวป้องกัน แก้ไข เพื่อให้เกิดสิ่งดีๆ สิ่งใหม่ขึ้นได้ในสังคมอนาคต

การเข้าค่ายนั้นเป็นผลดีต่อเด็กและเยาวชนมาก เพราะว่าเป็นวัยแห่งการเรียนรู้สนใจ สิ่งรอบตัวต่างๆ มากมายก่อนที่จะก้าวเข้าสู่วัยผู้ใหญ่ ซึ่งหากมีการส่งเสริมในทางที่ดี ก็จะเป็นแนวทางให้พวกเขาได้รู้จัก พัฒนาตนเองเพื่อการเรียนรู้ในทางที่เป็นประโยชน์ต่อตนเองและประเทศชาติต่อ ไป ในอนาคต

การเข้าค่ายช่วยส่งเสริมศักยภาพการคิดของเด็ก

การจัดกระบวนการเรียนรู้ไว้ว่า จะต้องเน้นให้ผู้เรียนได้เรียนรู้จากประสบการณ์จริง สามารถนำความรู้ในวิชาต่างๆไปบูรณาการใช้ในการดำรงชีวิตได้ สามารถคิดวิเคราะห์ คิดอย่างมีวิจารณญาณ คิดอย่างสร้างสรรค์ มีความสามารถในการจัดการและแก้ไขปัญหา มีความเป็นผู้นำ ยอมรับตนเอง อยู่ร่วมกับผู้อื่นอย่างมีความสุขและทำประโยชน์ให้แก่สังคมได้

กิจกรรมในค่ายคณิตศาสตร์ เป็นกระบวนการหนึ่งที่จะช่วยส่งเสริมและสนับสนุนให้เกิดคุณลักษณะตามข้อกำหนดข้างต้นได้ หากผู้จัดสามารถวางแผนและกำหนดกิจกรรมวิชาการและนันทนาการให้นักเรียนได้ปฏิบัติอย่างเหมาะสม

กิจกรรมวิชาการ ต้องคัดสรรให้เหมาะสมกับผู้เข้าค่าย ถ้าเป็นเด็กเก่ง มักนิยมนำเนื้อหาสูงๆมาเรียนทั้งวัน เช่น ค่ายคณิตศาสตร์โอลิมปิก แต่ถ้าเป็นเด็กมัธยมทั่วไป มีผสมระหว่างคนเก่ง คนอ่อน หรือต่างชั้นก็ควรเน้นทักษะการแก้ปัญหาเป็นสำคัญ ซึ่งมีหลายรูปแบบ เช่น
– แรลลี่สำรวจค่าย โดยนำปัญหามาวางไว้ตามจุดต่างๆ ให้ผู้เล่นไขปริศนา เน้นการประยุกต์ความรู้
– ระดมความคิด เพื่อให้สมาชิกในกลุ่มได้อภิปรายแสดงความเห็น ทำงานร่วมกันจนได้ข้อสรุป
– ผจญภัยคณิตศาสตร์ เน้นคิดแก้ปัญหา ตื่นเต้น ท้าทาย เช่น ค่ายกลที่ต้องใช้ความรู้ทางทฤษฎีกราฟ
– เสริมศักยภาพทางคณิตศาสตร์ เพื่อให้ผู้เข้าค่ายได้ทดสอบทักษะทางคณิตศาสตร์และการคิดแก้ปัญหา
– คณิตศาสตร์กับธรรมชาติ โดยการเดินทางนอกสถานที่แล้วสอดแทรกการนำคณิตศาสตร์ไปใช้ เช่น การวัดความสูงของภูเขา ปริมาณนกในบึง ปริมาณปลาในสระ เป็นต้น
– เล่าประวัตินักคณิตศาสตร์ ที่เกี่ยวข้องกับเนื้อหาที่นักเรียนได้เรียน เช่น ปีทาโกรัส ยุคลิด ฯลฯ
– การบรรยายจากวิทยากรรับเชิญ ตามหัวข้อที่เหมาะสมเช่น การสอบเข้ามหาวิทยาลัย การทำโครงงานฯ

กิจกรรมนันทนาการ เป็นกิจกรรมที่แทรกคั่นระหว่างกิจกรรมวิชาการเพื่อผ่อนคลาย ซึ่งนักเรียนจะสนุกสนานได้เสียงหัวเราะ เช่น เพลงคณิตศาสตร์ เกมคณิตศาสตร์ ละครคณิตปริศนา กิจกรรมกลุ่มสัมพันธ์ ถ้าทำถูกต้องทันเวลา ก็ได้รับรางวัล ถ้าทำไม่ถูกต้องหรือช้ากว่ากำหนด ก็จะถูกลงโทษโดยการแสดงท่าทางต่างๆ เช่น ท่าไก่ย่าง ท่าดักแด้ ฯ

นักเรียนที่เข้าค่ายคณิตศาสตร์ จะได้รับรู้และเรียนรู้ประสบการณ์ต่อไปนี้
1. เพิ่มพูนความรู้ ความเข้าใจและทักษะการคิดทางคณิตศาสตร์
2. เพิ่มพูนศักยภาพทางคณิตศาสตร์ ได้แก่ การสำรวจ ตั้งข้อคาดเดา การสืบเสาะหาเหตุผล ใช้หลายยุทธวิธี ในการแก้ปัญหา การสื่อสารและการเชื่อมโยงความรู้กับชีวิตจริงกับศาสตร์สาขาอื่นๆ
3. ส่งเสริมความสามารถในการแก้ปัญหาตามขั้นตอนของการแก้ปัญหา (เข้าใจ วางแผน ลงมือ ตรวจสอบ)
4. ฝึกการอยู่ร่วมกัน ทำงานร่วมกันเป็นหมู่คณะ ซึ่งต้องเป็นคนมีวินัย อดทน เสียสละ เป็นผู้นำและผู้ตามที่ดีทีวามสำคัญของวิชาคณิตศาสตร์

การจัดค่ายคณิตศาสตร์ เป็นงานที่มีคุณค่า สามารถสร้างความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างครูกับศิษย์ หลายท่านอาจลังเลใจในการจัด ผมขอแนะนำให้ลองจัดสักครั้งแล้วท่านจะมีความรู้สึกที่ดี จากการประเมินการจัดค่ายคณิตศาสตร์ ทุกครั้งพบว่าเด็กที่ไม่ชอบคณิตศาสตร์ หลังเข้าค่ายแล้วจะรู้สึกรักคณิตศาสตร์และครูคณิตศาสตร์มากขึ้น

ความสำคัญของแคมป์เข้าค่ายเรียนรู้ และพัฒนาทักษะการศึกษา และคุณภาพชีวิต

การศึกษาเป็นปัจจัยสำคัญในกาพัฒนาเด็กให้มีความรู้และทักษะ การส่งเสริมการพัฒนากระบวนการเรียนรู้ของเด็กให้มีทักษะการเรียนรู้ บรรลุตามจุดมุ่งหมายของหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 ซึ่งมุ่งพัฒนาผู้เรียนให้มีคุณภาพมาตรฐานการเรียนรู้ที่จะช่วยให้ผู้เรียนเกิดสมรรถนะสำคัญ 5 ประการ คือ ความสามารถในการสื่อสาร การคิด การแก้ปัญหา การใช้ทักษะชีวิต และการใช้เทคโนโลยี และมีคุณลักษณะอันพึงประสงค์ตามที่หลักสูตรกำหนด โดยส่งเสริมให้นักเรียนมีพัฒนาการด้านร่างกาย จิตใจอารมณ์ ด้านสังคม และด้านสติปัญญา เน้นการฝึกปฏิบัติจริงตอบสนองความสามารถ ความถนัดและความสนใจ ของผู้เรียน มีส่วนร่วมในการลงมือปฏิบัติ การสร้างองค์ความรู้ การสร้างสรรค์ผลงานที่มีคุณค่าต่อตนเองและผู้อื่น รวมทั้งการเรียนรู้ทักษะการอยู่ร่วมกันกับผู้อื่นในสังคมอย่างมีความสุข มีวิธีการที่หลากหลายวิธีการหนึ่ง ที่สามารถสนองตอบการส่งเสริมนักเรียนให้มีพัฒนาการดังกล่าว คือ “ค่าย”

“ค่าย” เป็นกิจกรรมการเรียนรู้นอกห้องเรียน รูปแบบหนึ่งที่รู้จักกันมานาน โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนา ส่งเสริม สนับสนุน รวมถึงป้องกันแก้ไขปัญหา ตัวอย่างของค่ายเช่น ค่ายลูกเสือ ค่ายยุวกาชาด ค่ายบำเพ็ญประโยชน์ ค่ายวิทยาศาสตร์ ค่ายคณิตศาสตร์ ค่ายเยาวชน เป็นต้น ค่ายมีลักษณะเฉพาะคือ มีการกำหนดเป้าหมายชัดเจน มีผู้นำหรือพี่เลี้ยงค่ายทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลง ใช้ระบบกลุ่มในการพัฒนา มีสภาพแวดล้อมเหมาะสมปลอดภัย มีกิจกรรมหลักเป็นหัวใจของค่าย ต้องมีการคัดเลือกกิจกรรมและนำไปใช้อย่างมีทักษะและเทคนิค มีกระบวนการบริหารค่าย โดยทั่วไปประกอบด้วยกิจกรรมใน 5 ลักษระ ได้แก่ การชีวิตร่วมกันเป็นคณะหรือเป็นกลุ่ม การนันทนาการ การศึกษา การใช้ชีวิจกลางแจ้งหรือที่เหมาะสมอื่นๆ การปรับตัวทางสังคม และการบริหารงานค่าย

ค่ายเอื้อต่อการออกแบบและการจัดการเรียนรู้ ที่แตกต่างจากการเรียนการสอนในห้องเรียน กล่าวคือ การเปลี่ยนแหล่งของความรู้ เปลี่ยนบริบทการเรียนรู้ จากการเรียนรู้จากตำราเรียนและครู สู่การเรียนรู้จากผู้รู้อื่นๆ และจากสถานการณ์จริง และที่สำคัญคือ ได้ลงมือปฏิบัติการด้วยตนเองจากสถานที่ในห้องสี่เหลี่ยมสู่โลกกว้างที่ไม่มีที่สิ้นสุด มีกระบวนการคิด วิเคราะห์ และการเชื่อมโยงมากขึ้น ซึ่งนับเป็นปัจจัยสำคัญที่กระตุ้นให้เด็กเกิดความกระหายต่อการเรียนรู้และรับรู้ได้ดียิ่งขึ้น ตลอดจนมีใจจดจ่อและตื่นตัวต่อกระบวนการเรียนรู้นั้นๆ อันส่งผลให้เด็กสามารถเรียนรู้ได้มากิ่งขึ้น การเข้าค่ายเป็นช่วงเวลาที่เด็กจะได้รับประสบการณ์ตรงจากการอยู่ร่วมกันเป็นหมู่คณะ การสร้างประสบการณ์ใหม่ การใช้ประสบการณ์เชิงบวกในการเรียนรู้ ทำให้เด็กเกิดความประทับใจ และมีแรงบันดาลใจ เช่น การได้ค้นพบความสามารถของตนเอง มีโอกาสแสดงออก เสริมความใฝ่ฝันใน “สิ่งที่ดีกว่า” ที่เป็นจริงได้ ส่งผลให้เด็กเกิดการเปลี่ยนแปลงความเชื่อ ความคิด และพฤติกรรม เกิดความนับถือตนเอง เป็นการเปลี่ยนแปลงจาก “ภายใน” ในระดับบุคคล

การศึกษาตลอดชีวิตช่วยสร้างคุณภาพชีวิตให้แก่มนุษย์

การมุ่งพัฒนาชีวิตด้วยกระบวนการศึกษาเพื่อหวังสร้างโอกาสหางานทำง่าย มีรายได้มาใช้จ่ายบำรุงชีวิตให้อยู่ดีกินดี มีความสะดวกสบายสามารถยกระดับชีวิตได้สูงขึ้นในสังคมว่าเป็นชีวิตที่มีคุณภาพนั้น คุณภาพชีวิตในลักษณะนี้อาจไม่ยั่งยืน มั่นคงพอ ปัญหาอาจก่อตัวขึ้นมาช่วงใดช่วงหนึ่งของชีวิตได้หากท่าทีของจิตใจซึ่งเป็นตัวบงการชีวิต ยังไม่ได้รับการพัฒนาให้มีท่าทีในทางก่อที่มั่นคงและสมดุล เพราะความสำเร็จทุกอย่างตั้งอยู่บนพื้นฐานของจิตใจที่หนักแน่นมั่นคง จึงต้องสร้างพื้นฐานของจิตใจให้มั่นคงก่อน

การศึกษานั้นถือได้ว่าเป็นปัจจัยหลักที่จะทำให้เราสามารถมีคุณภาพชีวิตที่ดีได้ นอกจากนี้แล้วการศึกษาและการเรียนรู้นั้น ไม่ได้จำกัดอยู่เพียงในห้องเรียน เราสามารถเรียนรู้และศึกษาได้ในทุกที่ อย่างไรก็ตามคุณภาพชีวิตกับการศึกษาก็ขึ้นอยู่กับของแต่ละบุคคลด้วยเช่นกัน หากเราสามารถนำความรู้จากการศึกษา มาประยุกต์ใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุดแล้ว ก็ย่อมเกิดผลดีกับตัวของเราเอง การศึกษาหรือกระบวนการการเรียนรู้สามารถเกิดได้ในทุกวัย สามารถนำมาประยุกต์ให้เข้ากับสาขากิจกรรมบำบัดได้ เช่นเราสามารถประเมินว่ากิจกรรมใดเหมาะกับผู้รับบริการใด ระดับความรู้ความเข้าใจในแต่ละวัย ระดับของการศึกษาที่แตกต่างกัน ก็ทำให้เกิดการรู้และเข้าใจที่ต่างกันด้วยเช่นกัน

การศึกษาตลอดชีวิต

เป็นรูปแบบของการเรียนรู้ของมนุษย์ที่เกิดขึ้นตลอดชีวิตของมนุษย์ทุกคน นับตั้งแต่วัยแรกเกิดจนกระทั่งตาย การศึกษาจึงเป็นสิ่งที่มีอยู่ควบคู่กับสังคมมนุษย์ เราสามารถเลือกที่จะศึกษาเรียนรู้ได้ในช่วงเวลาต่างๆของชีวิตตามความต้องการและเหมาะสม การศึกษาเรียนรู้เกิดขึ้นได้ทุกเวลา ทุกสถานที่ ทั้งในครอบครัว วัด ชุมชน สถาบันการศึกษา สถานประกอบการ และแหล่งอื่นๆเราจะเห็นได้ว่าการศึกษาตลอดชีวิตกลายเป็นความจำเป็นของทุกคนในยุคปัจจุบันเพื่อให้สามารถก้าวทันโลกที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว

การพัฒนาคุณภาพชีวิตที่สำคัญ

อีกด้านหนึ่งที่จะต้องรีบพัฒนาไปพร้อมกันให้สมดุลกับด้านอื่นๆ คือด้ามนุษยสัมพันธ์เพราะว่าการดำรงชีวิตอยู่ในสังคมจำเป็นต้องมีการคบหาเกี่ยวพันระหว่างบุคคลรอบด้าน พฤติกรรมที่เราแสดงออกย่อมไปกระทบอารมณ์ความรู้สึกระหว่างบุคคลแล้วสะท้อนกลับมาเกี่ยวพันตัวเราด้วย ผลของการสะท้อนกลับมามีอิทธิพลต่อการพัฒนาชีวิตเช่นกัน ถ้าสะท้อนกลับมาในทางบวกก็จะช่วยเสริมสร้างกำลังใจและมีส่วนช่วยผลักดันการพัฒนาชีวิตได้สะดวกขึ้น  หากสะท้อนกลับในทางลบ ความเกี่ยวพันนั้นจะกลายเป็นตัวหน่วงเหนี่ยวการพัฒนาตนคล้ายกับตัวเองหน่วงเหนี่ยวตัวเอง ฉะนั้นจึงจำเป็นต้องพัฒนาชีวิตในด้านนี้ให้มีคุณภาพยิ่งขึ้น

โครงการเข้าค่ายเชิงปฏิบัติการวิทยาศาสตร์เพื่อการเรียนรู้

การจัดกิจกรรมที่สอดคล้องกับหลักสูตรการศึกษาที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ

โดยผู้เรียนสามารถเรียนรู้ปัญหาด้วยตนเองและสามารถหาวิธีการแก้ปัญหาได้นั้น  โครงการเข้าค่ายเชิงปฏิบัติการวิทยาศาสตร์แบบองค์รวมจึงเป็นวิธีหนึ่งที่นักเรียนสามารถนำกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ไปวิเคราะห์หาเหตุผลได้อย่างเป็นระบบ  บทบาทและหน้าที่ในการสนับสนุนการเรียนการสอนด้านวิทยาศาสตร์และสิ่งแวดล้อมโดยจัดในรูปแบบของนิทรรศการด้านวิทยาศาสตร์พื้นฐานทางธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ดาราศาสตร์ และอวกาศ เทคโนโลยีการเกษตรฯ ฯลฯ โดยเน้นในเรื่องใกล้ตัว สัมผัสได้ เรียนรู้จากของจริง สร้างความสนุกสนาน ตื่นเต้นเร้าใจ และนำไปปรับใช้ในชีวิตประจำวันได้ รวมถึงการนำเอาข้อสงสัยหรือปัญหาที่ได้จากสภาพจริงไปออกแบบและหาวิธีคิดแก้ปัญหาอย่างมีเหตุผลโดยวิธีการทางวิทยาศาสตร์เพื่อเป็นการส่งเสริมและกระตุ้นให้นักเรียนรู้จักการแก้ปัญหาในชีวิตประจำวันได้อย่างมีความสุข

การจัดตั้งแหล่งการเรียนรู้ตามอัธยาศัยด้านวิทยาศาสตร์ให้แก่เยาวชน ชุดนิทรรศการแต่ละชุดออกแบบในรูปแบบของการจำลองการนำเสนอ คำอธิบายที่เข้าใจง่าย มีการเปรียบเทียบแนวคิดทฤษฎีที่เป็นนามธรรมให้เห็นเป็นรูปธรรม ผสมผสานกิจกรรม การทดลอง การถาม-ตอบ และสรุปเนื้อหาสาระในแต่ละส่วน นิทรรศการเพื่อให้การเรียนรู้ทางวิทยาศาสตร์เป็นเรื่องที่สนุกสนาน มีชีวิตชีวา และเห็นความสัมพันธ์กับชีวิตประจำวัน

การจัดกิจกรรมในค่ายวิทยาศาสตร์ เน้นกิจกรรมที่สร้างสรรค์ให้เด็กมีกระบวนการคิดแบบวิทยาศาสตร์ เรียนรู้วิทยาศาสตร์ผ่านการทดลองในรูปแบบที่หลากหลาย สนับสนุนและส่งเสริมให้เยาวชนได้พัฒนาความคิดสร้างสรรค์ ทักษะและกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ผ่านการทำโครงงานวิทยาศาสตร์ และสิ่งประดิษฐ์ต่างๆ ที่เกี่ยวข้องในการจัดกิจกรรมส่งเสริมและพัฒนาศักยภาพทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีให้กับเด็กและเยาวชน ผ่านรูปแบบค่ายวิทยาศาสตร์ดังกล่าวในด้านต่างๆ ตลอดจนได้พัฒนาศักยภาพของตนเองในด้านที่สนใจ ซึ่งจะเป็นการฝึกให้มีกระบวนการคิดวิเคราะห์อย่างเป็นระบบซึ่งเป็นพื้นฐานสำคัญในการก้าวเข้าสู่อาชีพนักวิทยาศาสตร์หรือนักวิจัยในอนาคต

จุดประสงค์การจัดกิจกรรมในค่ายวิทยาศาสตร์

1.เพื่อให้ผู้เรียนมีความเข้าใจหลักการทางวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีสิ่งแวดล้อมและธรรมชาติ
2.เพื่อให้ผู้เรียนใช้กระบวนการทางวิทยาศาสตร์ในการศึกษาค้นหาความรู้ด้วยตนเองอย่างเป็นระบบ
3.เพื่อให้ผู้เรียนมีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ เรียนรู้อย่างอิสระ
4.เพื่อให้ผู้เรียนรู้จักปรับตัวเองให้อยู่กับสังคมได้อย่างมีความสุขสามารถทำงานระบบกลุ่มได้อย่างมีประสิทธิภาพ
5.เพื่อให้ผู้เรียนเกิดกระบวนการเรียนรู้ด้านวิทยาศาสตร์อย่างต่อเนื่อง และตลอดชีวิต
6.เพื่อให้ผู้เรียนมีเจตคติที่ดีต่อวิทยาศาสตร์ ให้เห็นว่าวิทยาศาสตร์ไม่ใช่เรื่องยาก ไม่ใช่เรื่องไกลตัว
7.เพื่อให้ผู้เรียนรู้จักแหล่งเรียนรู้และแหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติ

การพัฒนาทักษะการศึกษาและคุณภาพชีวิตของประเทศไทย

9

การศึกษาไทยในปัจจุบันยังคงมุ่งเน้นการผลิตคนให้รับใช้สังคมเท่านั้นเนื่องจากหลักสูตรที่จัดทำออกมาไม่ได้สอดคล้องกับวิถีชีวิตของคนในชนบท ทำให้คนเหล่านั้นก้าวจากสังคมชนบทไปตั้งหลักแหล่งในสังคมเมืองแทนที่จะกลับไปพัฒนาท้องถิ่นตนเองตลอดระยะเวลากว่าหนึ่งทศวรรษที่มีการจัดระบบการศึกษาไทยการเปลี่ยนแปลงระบบการศึกษาถ้าเปลี่ยนแปลงโดยยึดถือแต่ โรงเรียน ครู นักเรียน และเนื้อหาวิชาเป็นหลักโดยไม่ได้ให้ความสำคัญกับสภาพแวดล้อมอื่นอย่างเท่าเทียมเป็นเพียงการปรับเปลี่ยนเฉพาะรูปแบบที่หนีไม่พ้นการพายเรือในอ่างซึ่งไมต่างจากการศึกษาตอนเริ่มต้นที่นำเอาระบบโรงเรียนแบบตะวันตกเข้ามาเมื่อปี พ.ศ 2441 ถ้าการศึกษาไทยยังเป็นเช่นนี้ผลเสียจะเกิดต่อนักเรียน จิตสำนึกความเป็นครู และสังคม นักเรียนจะกลายเป็นผู้ที่มีความรู้แต่ปฎิบัติไม่ได้เนื่องจากเข้าไปไม่ถึงปัญหาที่แท้จริงหลักสูตรยังคงเน้นการวัดผลให้นักเรียนจดจำเนื้อหา กำหนดเวลาสอบผู้เรียนก็ต้องท่องจำ กวดวิชาทำให้เสียเวลาส่วนนี้ไปมากจนไม่มีโอกาสได้เรียนรู้ชีวิตและประสบการณ์นอกห้องเรียน

การศึกษาไทยต้องเน้นผลต่อผู้เรียนทั้งในระดับนโยบายและระดับการเรียนการสอนโดยกำหนดนโยบายการศึกษาที่คำนึงถึงประโยชน์ของผู้เรียนเป็นสำคัญเปิดโอกาสให้ผู้เรียน เรียนรู้ตามวิธีที่ถนัดและสนใจ เรียนอย่างสนุก เล่นให้ได้ความรู้ มีความสุขกับการเรียน ครูสอนโดยยึดผู้เรียนเป็นสำคัญเปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้คิดวิเคราะห์ทำให้เกิดความเชื่อมั่นในตนเองและมีความสุขกับการเรียนการศึกษาไทยต้องมุ่งยกระดับงานให้เป็นแรงงานคุณภาพที่เข้มแข็งและแข็งขัน มีการกระจายอำนาจสู่เขตพื้นที่การศึกษา สถานศึกษา องค์กรปกครองท้องถิ่น มีการกำหนดมาตรฐานในการศึกษา จัดรูปแบบประกันคุณภาพการศึกษาทุกระดับ มีการส่งเสริมรากฐานและพัฒนาวิชาชีพครู บุคคลากรทางการศึกษา ระดมทรัพยากรจากแหล่งต่างๆมาใช้ในการศึกษาและการมีส่วนร่วมของบุคคลในครอบครัว ชุมชน องค์กรชุมชน และสถาบันสังคมอื่นๆ

เหตุที่ต้องมีการปฎิรูปการศึกษาไทยก็เพราะคุณภาพการศึกษาไทยนั้นเริ่มตกต่ำไม่ทันโลกแข่งขันกับประเทศอื่น ทั้งนี้เพราะคุณภาพผู้เรียนไม่เป็นที่พอใจมีผลสัมฤทธิ์ต่ำในทุกวิชา ส่วนผู้ที่สำเร็จการศึกษาไปแล้วก็มีคุณภาพที่ไม่น่าพึงพอใจ การเรียนการสอนขาดการอบรมบ่มนิสัยไม่ได้ปลูกฝังคุณธรรม จริยธรรมและภูมิปัญญาไทยอย่างเพียงพอ การเข้ารับการศึกษาไม่กว้างขวาง ไม่ทั่วถึง และไม่เป็นธรรม เกิดความเลื่อมล้ำในการเข้ารับการศึกษายังมีคนที่พลาดโอกาสและด้อยโอกาสที่จะเข้ารับการศึกษาอีกจำนวนมาก การศึกษาในปัจจุบันเป็นแบบแยกส่วนไม่สอดคล้องกับการดำรงชีวิตในสังคม การศึกษายังขาดการบูรณาการเชื่อมโยงและการบริหารจัดการศึกษาไทยยังขาดประสิทธิภาพและประสิทธิผล

การพัฒนาคุณภาพชีวิตของตนเองไปสู่ความสำเร็จในชีวิต

การศึกษา ก็นับว่าเป็นตัวชี้วัดคุณภาพชีวิตอีกข้อที่สำคัญ เพราะทั่วโลกจะถือว่าประเทศที่มีอัตราการศึกษาของประชากรภายในประเทศอยู่ในระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานสูงนั้นย่อมถือว่าประชากรในประเทศนั้นมีคุณภาพชีวิตที่ดีด้วย การพัฒนาตนเอง เป็นทั้งการพัฒนาความรู้ทักษะและพฤติกรรมไปสู่การพัฒนาทัศนคติ แรงจูงใจ และอุปนิสัยเพื่อค้นหาตนเอง เพิ่มทักษะ รวมถึงการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมไปตามสิ่งแวดล้อมที่เปลี่ยนไป การพัฒนาตนเองอาจเป็นการพัฒนาที่จิตใจของตนเอง หรือพัฒนาไปสู่ความสำเร็จในชีวิต ทำให้มีคุณภาพชีวิตมีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นตามที่ใจปรารถนาการพัฒนาตนเองเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตจะต้องมีการพัฒนาในมิติต่างๆ

ชีวิตที่มีคุณภาพย่อมเป็นชีวิตที่ประสบความสมหวัง

รู้จักยับยั้งความต้องการทางร่างกาย และความต้องการทางอารมณ์ของตนเองให้อยู่ในขอบเขตที่พอดี สามารถใช้ความรู้ สติปัญญาความรู้สึกนึกคิดของตนไม่ก่อให้เกิดความเดือดร้อนเบียดเบียนหรือให้โทษแก่บุคคลอื่นในขณะเดียวกันบุคคลจะต้องมีการศึกษาสูงมีความขยันอดทนประกอบอาชีพที่สุจริต เป็นพลเมืองดี มีศาสนาเป็นสิ่งยึดเหนี่ยวทางใจมีระเบียบมีวินัยมีกฎเกณฑ์ทางสังคมแสวงหาความรู้เพิ่มเติมรู้จักใช้ความคิดและสติปัญญาแก้ไขปัญหาสุขภาพและการดำรงชีวิตของตนเองซึ่งถือว่าเป็นคุณลักษณะของการมีคุณภาพชีวิตที่ดีของบุคคลในอีกระดับหนึ่ง

มนุษย์เรามีความต้องการที่จะให้ตนเองเจริญก้าวหน้า

ดังนั้นทุกคนจึงต้องพยายามพัฒนาตนเองเพื่อให้มีชีวิตความเป็นอยู่ที่ดียิ่งขึ้น มีการคำนึงถึงสิ่งแวดล้อมและมลภาวะที่มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงรูปแบบของการดำเนินชีวิต การเปลี่ยนแปลงทางด้านวัฒนธรรม ทำให้มนุษย์มีรสนิยมสูงขึ้น ปรารถนาสิ่งที่ดีขึ้นหรือดีที่สุด มีความสามารถที่จะทำตัวเองให้เข้ากับบุคคลอื่นให้ได้ และเป็นที่รักใคร่ชอบพอแก่ทุกๆคน การพัฒนาตนเองเป็นทั้งการพัฒนาความรู้, ทักษะ และพฤติกรรม ไปสู่การพัฒนาทัศนคติ แรงจูงใจ และอุปนิสัยเพื่อค้นหาตนเอง เพิ่มทักษะ รวมถึงการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมไปตามสิ่งแวดล้อมที่เปลี่ยนไป การพัฒนาตนเองอาจเป็นการพัฒนาที่จิตใจของตนเอง หรือพัฒนาไปสู่ความสำเร็จในชีวิต ทำให้มีคุณภาพชีวิตมีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นตามที่ใจปรารถนา

องค์ประกอบในการพัฒนาคุณภาพชีวิตของมนุษย์

1.ด้านกาย ได้แก่ โครงสร้างทางร่างกาย และ สุขภาพร่างกาย รวมถึงด้านบุคลิกภาพด้วย
2.ด้านจิต ได้แก่ สภาพจิตใจและสุขภาพจิตรวมถึงด้านคุณธรรมและจริยธรรมด้วย
3.ด้านสังคม ได้แก่ สถานะทางสังคม ยศ ตำแหน่ง เกียรติยศชื่อเสียง การยอมรับนับถือ รวมถึงการมีมนุษยสัมพันธ์กับผู้อื่นด้วย
4.ด้านเศรษฐกิจ ได้แก่ สถานะทางเศรษฐกิจการเงินและรายได้ที่มั่นคงเป็นต้น

ความรู้ทางอินเตอร์เน็ตกับการพัฒนาทักษะทางการศึกษาและคุณภาพชีวิต

ความรู้ทางอินเตอร์เน็ตกับการพัฒนาทักษะทางการศึกษาและคุณภาพชีวิต

สังคมมนุษย์เป็นสังคมที่ต้องการความเจริญก้าวหน้า ต้องการชื่อเสียง เกียรติยศ เงินทอง การยอมรับ จากวงสังคม และประสบความสำเร็จในหน้าที่การงาน ซึ่งไม่มีใครเลยจะสามารถปฏิเสธได้ว่า ในแต่ละวันนั้น มนุษย์ต้องดิ้นรนขวนขวาย ไขว่คว้าหาสิ่งที่ตนพึงปรารถนาเพื่อให้ได้มาดังนั้นการพัฒนาคุณภาพชีวิต จึงเป็นการพัฒนาตนเองเพื่อให้มีชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น ปรับปรุงการดำเนินชีวิตให้สอดคล้องและรองรับกับการเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้นในอนาคต ปัญหาที่สำคัญมีอยู่ว่า แล้วเราจะสามารถพัฒนาคุณภาพชีวิตสู่ความสำเร็จนั้นได้อย่างไร คำตอบที่ดีที่สุดคงหนีไม่พ้น เราต้องรู้จัก
ตัวเราเองก่อน เพราะตัวเราเท่านั้นที่จะสามารถสร้างความสำเร็จให้กับตัวเองได้ ไม่มีใครสามารถทำแทนได้ ดังเช่นคำกล่าวที่ว่า“ดีชั่วอยู่ที่ตัวทำ สูงต่ำอยู่ที่ทำตัว” ตัวชี้วัดคุณภาพชีวิตนั้นมีอยู่มากมาย และสิ่งหนึ่งที่เราไม่สามารถละเลยที่จะนึกถึงนั่นคือ ปัจจัย 4 อันได้แก่ อาหาร เครื่องนุ่มห่มยารักษาโรคและที่อยู่อาศัย ซึ่งนับเป็นปัจจัยพื้นฐานเบื้องต้นในการดำรงชีวิต ที่สำคัญ ซึ่งมนุษย์ทุกคนจะขาดเสียมิได้นอกจากนั้นแล้ว การศึกษา ก็นับว่าเป็นตัวชี้วัดคุณภาพชีวิตอีกข้อที่สำคัญ เพราะทั่วโลกจะถือว่า “ประเทศที่มีอัตราการศึกษาของประชากรภายในประเทศอยู่ในระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานสูงนั้น ย่อมถือว่า ประชากรในประเทศนั้นมีคุณภาพชีวิตที่ดีด้วย” เช่น ประเทศสหรัฐอเมริกา แคนาดา อังกฤษ เป็นต้น

การพัฒนาตนเองเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิต สามารถแบ่งออกได้เป็น 4 มิติดังต่อไปนี้การพัฒนาคุณภาพชีวิตทางด้านร่างกาย ได้แก่ การให้ความสำคัญกับสุขภาพ รู้จักบริโภคอาหารอย่างถูก สุขลักษณะและครบ 5 หมู่ หาเวลาพักผ่อนและออกกำลังเป็นประจำ เพื่อสุขภาพร่างกายที่แข็งแรงสมบูรณ์การพัฒนาคุณภาพชีวิตทางด้านอารมณ์ เป็นการสร้างเสริมสุขภาพจิตที่ดี รู้จักควบคุมอารมณ์ โดยการ หมั่นฝึกให้ทาน การทำงานอดิเรกที่ชื่นชอบ การเข้าร่วมกิจกรรมสันทนาการ การฝึกสมาธิ เป็นต้นการพัฒนาคุณภาพชีวิตทางด้านสังคม เป็นการสร้างการยอมรับ และยกย่องจากสังคม อันได้แก่ การเข้า ร่วมกิจกรรมกับเพื่อน ๆหรือจากหน่วยงานต่างๆ ที่จัดขึ้น การใช้เวลาว่างบำเพ็ญประโยชน์เพื่อชุมชน และการปฏิบัติตนโดยยึดหลักคุณธรรม จริยธรรม เป็นต้นการพัฒนาคุณภาพชีวิตทางด้านสติปัญญา เป็นการเพิ่มทักษะทางด้านความรู้ให้กับตนเอง อาทิเช่น การอ่านหนังสือ การเข้ารับการอบรมเพื่อเพิ่มพูนความรู้ ทักษะและประสบการณ์ในด้านต่าง ๆ การศึกษา ข้อมูลด้วยตนเองจากสื่อสารสนเทศ วิทยุ โทรทัศน์ ฯลฯรวมไปถึงการหัดสังเกตและติดตามการเปลี่ยน แปลงของสิ่งแวดล้อม เป็นต้น