โครงการเข้าค่ายเชิงปฏิบัติการวิทยาศาสตร์เพื่อการเรียนรู้

การจัดกิจกรรมที่สอดคล้องกับหลักสูตรการศึกษาที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ

โดยผู้เรียนสามารถเรียนรู้ปัญหาด้วยตนเองและสามารถหาวิธีการแก้ปัญหาได้นั้น  โครงการเข้าค่ายเชิงปฏิบัติการวิทยาศาสตร์แบบองค์รวมจึงเป็นวิธีหนึ่งที่นักเรียนสามารถนำกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ไปวิเคราะห์หาเหตุผลได้อย่างเป็นระบบ  บทบาทและหน้าที่ในการสนับสนุนการเรียนการสอนด้านวิทยาศาสตร์และสิ่งแวดล้อมโดยจัดในรูปแบบของนิทรรศการด้านวิทยาศาสตร์พื้นฐานทางธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ดาราศาสตร์ และอวกาศ เทคโนโลยีการเกษตรฯ ฯลฯ โดยเน้นในเรื่องใกล้ตัว สัมผัสได้ เรียนรู้จากของจริง สร้างความสนุกสนาน ตื่นเต้นเร้าใจ และนำไปปรับใช้ในชีวิตประจำวันได้ รวมถึงการนำเอาข้อสงสัยหรือปัญหาที่ได้จากสภาพจริงไปออกแบบและหาวิธีคิดแก้ปัญหาอย่างมีเหตุผลโดยวิธีการทางวิทยาศาสตร์เพื่อเป็นการส่งเสริมและกระตุ้นให้นักเรียนรู้จักการแก้ปัญหาในชีวิตประจำวันได้อย่างมีความสุข

การจัดตั้งแหล่งการเรียนรู้ตามอัธยาศัยด้านวิทยาศาสตร์ให้แก่เยาวชน ชุดนิทรรศการแต่ละชุดออกแบบในรูปแบบของการจำลองการนำเสนอ คำอธิบายที่เข้าใจง่าย มีการเปรียบเทียบแนวคิดทฤษฎีที่เป็นนามธรรมให้เห็นเป็นรูปธรรม ผสมผสานกิจกรรม การทดลอง การถาม-ตอบ และสรุปเนื้อหาสาระในแต่ละส่วน นิทรรศการเพื่อให้การเรียนรู้ทางวิทยาศาสตร์เป็นเรื่องที่สนุกสนาน มีชีวิตชีวา และเห็นความสัมพันธ์กับชีวิตประจำวัน

การจัดกิจกรรมในค่ายวิทยาศาสตร์ เน้นกิจกรรมที่สร้างสรรค์ให้เด็กมีกระบวนการคิดแบบวิทยาศาสตร์ เรียนรู้วิทยาศาสตร์ผ่านการทดลองในรูปแบบที่หลากหลาย สนับสนุนและส่งเสริมให้เยาวชนได้พัฒนาความคิดสร้างสรรค์ ทักษะและกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ผ่านการทำโครงงานวิทยาศาสตร์ และสิ่งประดิษฐ์ต่างๆ ที่เกี่ยวข้องในการจัดกิจกรรมส่งเสริมและพัฒนาศักยภาพทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีให้กับเด็กและเยาวชน ผ่านรูปแบบค่ายวิทยาศาสตร์ดังกล่าวในด้านต่างๆ ตลอดจนได้พัฒนาศักยภาพของตนเองในด้านที่สนใจ ซึ่งจะเป็นการฝึกให้มีกระบวนการคิดวิเคราะห์อย่างเป็นระบบซึ่งเป็นพื้นฐานสำคัญในการก้าวเข้าสู่อาชีพนักวิทยาศาสตร์หรือนักวิจัยในอนาคต

จุดประสงค์การจัดกิจกรรมในค่ายวิทยาศาสตร์

1.เพื่อให้ผู้เรียนมีความเข้าใจหลักการทางวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีสิ่งแวดล้อมและธรรมชาติ
2.เพื่อให้ผู้เรียนใช้กระบวนการทางวิทยาศาสตร์ในการศึกษาค้นหาความรู้ด้วยตนเองอย่างเป็นระบบ
3.เพื่อให้ผู้เรียนมีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ เรียนรู้อย่างอิสระ
4.เพื่อให้ผู้เรียนรู้จักปรับตัวเองให้อยู่กับสังคมได้อย่างมีความสุขสามารถทำงานระบบกลุ่มได้อย่างมีประสิทธิภาพ
5.เพื่อให้ผู้เรียนเกิดกระบวนการเรียนรู้ด้านวิทยาศาสตร์อย่างต่อเนื่อง และตลอดชีวิต
6.เพื่อให้ผู้เรียนมีเจตคติที่ดีต่อวิทยาศาสตร์ ให้เห็นว่าวิทยาศาสตร์ไม่ใช่เรื่องยาก ไม่ใช่เรื่องไกลตัว
7.เพื่อให้ผู้เรียนรู้จักแหล่งเรียนรู้และแหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติ

การพัฒนาทักษะการศึกษาและคุณภาพชีวิตของประเทศไทย

9

การศึกษาไทยในปัจจุบันยังคงมุ่งเน้นการผลิตคนให้รับใช้สังคมเท่านั้นเนื่องจากหลักสูตรที่จัดทำออกมาไม่ได้สอดคล้องกับวิถีชีวิตของคนในชนบท ทำให้คนเหล่านั้นก้าวจากสังคมชนบทไปตั้งหลักแหล่งในสังคมเมืองแทนที่จะกลับไปพัฒนาท้องถิ่นตนเองตลอดระยะเวลากว่าหนึ่งทศวรรษที่มีการจัดระบบการศึกษาไทยการเปลี่ยนแปลงระบบการศึกษาถ้าเปลี่ยนแปลงโดยยึดถือแต่ โรงเรียน ครู นักเรียน และเนื้อหาวิชาเป็นหลักโดยไม่ได้ให้ความสำคัญกับสภาพแวดล้อมอื่นอย่างเท่าเทียมเป็นเพียงการปรับเปลี่ยนเฉพาะรูปแบบที่หนีไม่พ้นการพายเรือในอ่างซึ่งไมต่างจากการศึกษาตอนเริ่มต้นที่นำเอาระบบโรงเรียนแบบตะวันตกเข้ามาเมื่อปี พ.ศ 2441 ถ้าการศึกษาไทยยังเป็นเช่นนี้ผลเสียจะเกิดต่อนักเรียน จิตสำนึกความเป็นครู และสังคม นักเรียนจะกลายเป็นผู้ที่มีความรู้แต่ปฎิบัติไม่ได้เนื่องจากเข้าไปไม่ถึงปัญหาที่แท้จริงหลักสูตรยังคงเน้นการวัดผลให้นักเรียนจดจำเนื้อหา กำหนดเวลาสอบผู้เรียนก็ต้องท่องจำ กวดวิชาทำให้เสียเวลาส่วนนี้ไปมากจนไม่มีโอกาสได้เรียนรู้ชีวิตและประสบการณ์นอกห้องเรียน

การศึกษาไทยต้องเน้นผลต่อผู้เรียนทั้งในระดับนโยบายและระดับการเรียนการสอนโดยกำหนดนโยบายการศึกษาที่คำนึงถึงประโยชน์ของผู้เรียนเป็นสำคัญเปิดโอกาสให้ผู้เรียน เรียนรู้ตามวิธีที่ถนัดและสนใจ เรียนอย่างสนุก เล่นให้ได้ความรู้ มีความสุขกับการเรียน ครูสอนโดยยึดผู้เรียนเป็นสำคัญเปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้คิดวิเคราะห์ทำให้เกิดความเชื่อมั่นในตนเองและมีความสุขกับการเรียนการศึกษาไทยต้องมุ่งยกระดับงานให้เป็นแรงงานคุณภาพที่เข้มแข็งและแข็งขัน มีการกระจายอำนาจสู่เขตพื้นที่การศึกษา สถานศึกษา องค์กรปกครองท้องถิ่น มีการกำหนดมาตรฐานในการศึกษา จัดรูปแบบประกันคุณภาพการศึกษาทุกระดับ มีการส่งเสริมรากฐานและพัฒนาวิชาชีพครู บุคคลากรทางการศึกษา ระดมทรัพยากรจากแหล่งต่างๆมาใช้ในการศึกษาและการมีส่วนร่วมของบุคคลในครอบครัว ชุมชน องค์กรชุมชน และสถาบันสังคมอื่นๆ

เหตุที่ต้องมีการปฎิรูปการศึกษาไทยก็เพราะคุณภาพการศึกษาไทยนั้นเริ่มตกต่ำไม่ทันโลกแข่งขันกับประเทศอื่น ทั้งนี้เพราะคุณภาพผู้เรียนไม่เป็นที่พอใจมีผลสัมฤทธิ์ต่ำในทุกวิชา ส่วนผู้ที่สำเร็จการศึกษาไปแล้วก็มีคุณภาพที่ไม่น่าพึงพอใจ การเรียนการสอนขาดการอบรมบ่มนิสัยไม่ได้ปลูกฝังคุณธรรม จริยธรรมและภูมิปัญญาไทยอย่างเพียงพอ การเข้ารับการศึกษาไม่กว้างขวาง ไม่ทั่วถึง และไม่เป็นธรรม เกิดความเลื่อมล้ำในการเข้ารับการศึกษายังมีคนที่พลาดโอกาสและด้อยโอกาสที่จะเข้ารับการศึกษาอีกจำนวนมาก การศึกษาในปัจจุบันเป็นแบบแยกส่วนไม่สอดคล้องกับการดำรงชีวิตในสังคม การศึกษายังขาดการบูรณาการเชื่อมโยงและการบริหารจัดการศึกษาไทยยังขาดประสิทธิภาพและประสิทธิผล

การพัฒนาคุณภาพชีวิตของตนเองไปสู่ความสำเร็จในชีวิต

การศึกษา ก็นับว่าเป็นตัวชี้วัดคุณภาพชีวิตอีกข้อที่สำคัญ เพราะทั่วโลกจะถือว่าประเทศที่มีอัตราการศึกษาของประชากรภายในประเทศอยู่ในระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานสูงนั้นย่อมถือว่าประชากรในประเทศนั้นมีคุณภาพชีวิตที่ดีด้วย การพัฒนาตนเอง เป็นทั้งการพัฒนาความรู้ทักษะและพฤติกรรมไปสู่การพัฒนาทัศนคติ แรงจูงใจ และอุปนิสัยเพื่อค้นหาตนเอง เพิ่มทักษะ รวมถึงการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมไปตามสิ่งแวดล้อมที่เปลี่ยนไป การพัฒนาตนเองอาจเป็นการพัฒนาที่จิตใจของตนเอง หรือพัฒนาไปสู่ความสำเร็จในชีวิต ทำให้มีคุณภาพชีวิตมีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นตามที่ใจปรารถนาการพัฒนาตนเองเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตจะต้องมีการพัฒนาในมิติต่างๆ

ชีวิตที่มีคุณภาพย่อมเป็นชีวิตที่ประสบความสมหวัง

รู้จักยับยั้งความต้องการทางร่างกาย และความต้องการทางอารมณ์ของตนเองให้อยู่ในขอบเขตที่พอดี สามารถใช้ความรู้ สติปัญญาความรู้สึกนึกคิดของตนไม่ก่อให้เกิดความเดือดร้อนเบียดเบียนหรือให้โทษแก่บุคคลอื่นในขณะเดียวกันบุคคลจะต้องมีการศึกษาสูงมีความขยันอดทนประกอบอาชีพที่สุจริต เป็นพลเมืองดี มีศาสนาเป็นสิ่งยึดเหนี่ยวทางใจมีระเบียบมีวินัยมีกฎเกณฑ์ทางสังคมแสวงหาความรู้เพิ่มเติมรู้จักใช้ความคิดและสติปัญญาแก้ไขปัญหาสุขภาพและการดำรงชีวิตของตนเองซึ่งถือว่าเป็นคุณลักษณะของการมีคุณภาพชีวิตที่ดีของบุคคลในอีกระดับหนึ่ง

มนุษย์เรามีความต้องการที่จะให้ตนเองเจริญก้าวหน้า

ดังนั้นทุกคนจึงต้องพยายามพัฒนาตนเองเพื่อให้มีชีวิตความเป็นอยู่ที่ดียิ่งขึ้น มีการคำนึงถึงสิ่งแวดล้อมและมลภาวะที่มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงรูปแบบของการดำเนินชีวิต การเปลี่ยนแปลงทางด้านวัฒนธรรม ทำให้มนุษย์มีรสนิยมสูงขึ้น ปรารถนาสิ่งที่ดีขึ้นหรือดีที่สุด มีความสามารถที่จะทำตัวเองให้เข้ากับบุคคลอื่นให้ได้ และเป็นที่รักใคร่ชอบพอแก่ทุกๆคน การพัฒนาตนเองเป็นทั้งการพัฒนาความรู้, ทักษะ และพฤติกรรม ไปสู่การพัฒนาทัศนคติ แรงจูงใจ และอุปนิสัยเพื่อค้นหาตนเอง เพิ่มทักษะ รวมถึงการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมไปตามสิ่งแวดล้อมที่เปลี่ยนไป การพัฒนาตนเองอาจเป็นการพัฒนาที่จิตใจของตนเอง หรือพัฒนาไปสู่ความสำเร็จในชีวิต ทำให้มีคุณภาพชีวิตมีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นตามที่ใจปรารถนา

องค์ประกอบในการพัฒนาคุณภาพชีวิตของมนุษย์

1.ด้านกาย ได้แก่ โครงสร้างทางร่างกาย และ สุขภาพร่างกาย รวมถึงด้านบุคลิกภาพด้วย
2.ด้านจิต ได้แก่ สภาพจิตใจและสุขภาพจิตรวมถึงด้านคุณธรรมและจริยธรรมด้วย
3.ด้านสังคม ได้แก่ สถานะทางสังคม ยศ ตำแหน่ง เกียรติยศชื่อเสียง การยอมรับนับถือ รวมถึงการมีมนุษยสัมพันธ์กับผู้อื่นด้วย
4.ด้านเศรษฐกิจ ได้แก่ สถานะทางเศรษฐกิจการเงินและรายได้ที่มั่นคงเป็นต้น

ความรู้ทางอินเตอร์เน็ตกับการพัฒนาทักษะทางการศึกษาและคุณภาพชีวิต

ความรู้ทางอินเตอร์เน็ตกับการพัฒนาทักษะทางการศึกษาและคุณภาพชีวิต

สังคมมนุษย์เป็นสังคมที่ต้องการความเจริญก้าวหน้า ต้องการชื่อเสียง เกียรติยศ เงินทอง การยอมรับ จากวงสังคม และประสบความสำเร็จในหน้าที่การงาน ซึ่งไม่มีใครเลยจะสามารถปฏิเสธได้ว่า ในแต่ละวันนั้น มนุษย์ต้องดิ้นรนขวนขวาย ไขว่คว้าหาสิ่งที่ตนพึงปรารถนาเพื่อให้ได้มาดังนั้นการพัฒนาคุณภาพชีวิต จึงเป็นการพัฒนาตนเองเพื่อให้มีชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น ปรับปรุงการดำเนินชีวิตให้สอดคล้องและรองรับกับการเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้นในอนาคต ปัญหาที่สำคัญมีอยู่ว่า แล้วเราจะสามารถพัฒนาคุณภาพชีวิตสู่ความสำเร็จนั้นได้อย่างไร คำตอบที่ดีที่สุดคงหนีไม่พ้น เราต้องรู้จัก
ตัวเราเองก่อน เพราะตัวเราเท่านั้นที่จะสามารถสร้างความสำเร็จให้กับตัวเองได้ ไม่มีใครสามารถทำแทนได้ ดังเช่นคำกล่าวที่ว่า“ดีชั่วอยู่ที่ตัวทำ สูงต่ำอยู่ที่ทำตัว” ตัวชี้วัดคุณภาพชีวิตนั้นมีอยู่มากมาย และสิ่งหนึ่งที่เราไม่สามารถละเลยที่จะนึกถึงนั่นคือ ปัจจัย 4 อันได้แก่ อาหาร เครื่องนุ่มห่มยารักษาโรคและที่อยู่อาศัย ซึ่งนับเป็นปัจจัยพื้นฐานเบื้องต้นในการดำรงชีวิต ที่สำคัญ ซึ่งมนุษย์ทุกคนจะขาดเสียมิได้นอกจากนั้นแล้ว การศึกษา ก็นับว่าเป็นตัวชี้วัดคุณภาพชีวิตอีกข้อที่สำคัญ เพราะทั่วโลกจะถือว่า “ประเทศที่มีอัตราการศึกษาของประชากรภายในประเทศอยู่ในระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานสูงนั้น ย่อมถือว่า ประชากรในประเทศนั้นมีคุณภาพชีวิตที่ดีด้วย” เช่น ประเทศสหรัฐอเมริกา แคนาดา อังกฤษ เป็นต้น

การพัฒนาตนเองเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิต สามารถแบ่งออกได้เป็น 4 มิติดังต่อไปนี้การพัฒนาคุณภาพชีวิตทางด้านร่างกาย ได้แก่ การให้ความสำคัญกับสุขภาพ รู้จักบริโภคอาหารอย่างถูก สุขลักษณะและครบ 5 หมู่ หาเวลาพักผ่อนและออกกำลังเป็นประจำ เพื่อสุขภาพร่างกายที่แข็งแรงสมบูรณ์การพัฒนาคุณภาพชีวิตทางด้านอารมณ์ เป็นการสร้างเสริมสุขภาพจิตที่ดี รู้จักควบคุมอารมณ์ โดยการ หมั่นฝึกให้ทาน การทำงานอดิเรกที่ชื่นชอบ การเข้าร่วมกิจกรรมสันทนาการ การฝึกสมาธิ เป็นต้นการพัฒนาคุณภาพชีวิตทางด้านสังคม เป็นการสร้างการยอมรับ และยกย่องจากสังคม อันได้แก่ การเข้า ร่วมกิจกรรมกับเพื่อน ๆหรือจากหน่วยงานต่างๆ ที่จัดขึ้น การใช้เวลาว่างบำเพ็ญประโยชน์เพื่อชุมชน และการปฏิบัติตนโดยยึดหลักคุณธรรม จริยธรรม เป็นต้นการพัฒนาคุณภาพชีวิตทางด้านสติปัญญา เป็นการเพิ่มทักษะทางด้านความรู้ให้กับตนเอง อาทิเช่น การอ่านหนังสือ การเข้ารับการอบรมเพื่อเพิ่มพูนความรู้ ทักษะและประสบการณ์ในด้านต่าง ๆ การศึกษา ข้อมูลด้วยตนเองจากสื่อสารสนเทศ วิทยุ โทรทัศน์ ฯลฯรวมไปถึงการหัดสังเกตและติดตามการเปลี่ยน แปลงของสิ่งแวดล้อม เป็นต้น